ทำความรู้จักโครงการ EASY E-Receipt 2.0 ลดหย่อนภาษีที่ผู้ขายควรรู้
Easy E-Receipt 2.0 คืออะไร
ไขข้อมสงสัยมาตรการ มาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ช้อปสินค้าลดหย่อนภาษีในปี 68 สูงสุด 50,000 บาท สินค้าและบริการอะไรที่นำไปลดหย่อนได้และไม่ได้ รวมถึงวิธีการลดหย่อนเป็นอย่างไร
รัฐบาลออกมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” เพื่อสนับสนุนการบริโภคในประเทศ และส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่น โดยผู้ที่รายได้และเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สามารถนำค่าสินค้าหรือบริการที่กำหนดไปลดหย่อนภาษีในปี 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. จนถึงวันที่ 28 ก.พ. 2568

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเงื่อนไข โครงการ Easy E-Receipt 2.0
1. มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ให้สิทธิประโยชน์อะไร?
ตอบ : ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ. 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท
2. ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ใดจึงได้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ ?
ตอบ : (1) ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจากผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
(2) หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท ในกรณี
– ซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
– ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
– ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ เพื่อสังคม
ทั้งนี้ ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ (1) รวมถึงค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ (2) ด้วย เช่น ซื้อสินค้า OTOP 50,000 บาท สามารถหักลดหย่อนได้ 50,000 บาท
3. ค่าซื้อสินค้า OTOP ค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน และค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้วิสาหกิจเพื่อสังคมหักลดหย่อนได้เท่าไร?
ตอบ : หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
4. ผู้ได้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” คือผู้ใด?
ตอบ : ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
5. การซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถ หักลดหย่อนได้ทุกกรณีหรือไม่?
ตอบ : ได้เฉพาะกรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการดังต่อไปนี้
– หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
– หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
– สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
– สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
– สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
สินค้าใดบ้างที่ไม่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0

สิทธิประโยชน์ของร้านค้าบน NocNoc เมื่อเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0

สำหรับร้านค้าบน NocNoc สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆจากทาง NocNoc
คลิก ที่นี่ เพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการกับทาง NocNoc ภายในวันที่ 12 มกราคม 2568
ขอบคุณข้อมูลจาก policywatch.thaipbs.or.th